วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554
คำนามเอกพจน์ และพหูพจน์คืออะไร
นามเอกพจน์ (singular) คือ คำนามที่มีเพียงจำนวนเดียว
นามพหูพจน์ (plural) คือ คำนามที่มีสองจำนวนขึ้นไป
(เอก แปลว่า หนึ่ง ส่วนพหูแปลว่าหลาย)
คนเดียว เช่น a man, a doctor
ตัวเดียว เช่น a dog, a pig, a bird
อันเดียว เช่น a apple, a book, a car
สถานที่เดียว เช่น a school, a bank
หลายคน เช่น men, doctors
หลายตัว เช่น dogs, pigs, birds
หลายอัน เช่น apples, books, cars
หลายสถานที่ เช่น schools, banks
มีวิธีการสังเกตอย่างไรว่าตัวใดคือนามเอกพจน์ ตัวใดคือนามพหูพจน์
นามเอกพจน์ คือนามที่ไม่มี s ต่อท้าย เช่น a cat, an apple, a manนามพหูพจน์ คือนามที่มี s ต่อท้าย เช่น cats, apples
วิธีการนี้มีความแม่นยำสูงถึง 90 % กว่า ๆ แต่มีนามบางตัวที่เป็นพหูพจน์ได้แม้ไม่มี s ต่อท้าย และมีนามบางตัวที่มี s ต่อท้าย แต่กลับเป็นนามเอกพจน์เฉยเลย ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ตัวที่สำคัญ ๆ ทั้งหมดเลยครับ
การแปลงนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์
1. โดยปกติจะเติม s ต่อท้าย เช่นdog = dogs ดอกส สุนัข
teacher = teachers ทีชเชอส ครู
pen = pens เพ็นส ปากกา
bank = banks แบ็งคส ธนาคาร
คำที่ลงท้ายด้วย se, ce, ze ให้ออกเสียงท้ายคำว่า เซ็ส ด้วยนะครับ
house = houses เฮาเซ็ส บ้าน
horses = horses ฮอเซ็ส ม้า
size = sizes ไซเซ็ส ขนาด
face = faces เฟสเซ็ส หน้า
2. คำนามที่ลงท้ายด้วย s, x, z, ch, sh ให้เติม es เวลาอ่านจะลงท้าย ด้วยเสียง เซ็ส หรือ เช็ส
bus =buses บัสเซ็ส รถบัส
glass = glasses กสาเซ็ส แก้ว
box = boxes บ็อกเซ็ส กล่อง
buzz = buzzes บัสเซ็ส รถบัส
watch = watches ว็อชเช็ส นาฬิกา
match = matches แม็ชเช็ส ไฟแช็ค
church = churches เชิชเช็ส โบสถ์
dish = dishes ดิชเช็ส จาน
brush = brushes บรัชเช็ส แปรง
3. คำนามที่ลงท้ายด้วย y ต้องวิเคราะห์ให้ดีนะครับ เพราะว่า
ถ้าหน้า y เป็นสระ ( a, e, i, o, u) ให้เติม s ได้เลย แต่
ถ้าหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es
day = days เดส วัน
toy = toys ทอยส ของเล่น
key = keys คีส ลูกกุญแจ
monkey = monkeys มังคีส ลิง
baby = babies เบบีส เด็กทารก
city = cities ซิททีส เมือง
country = countries คันทรีส ประเทศ
fly = flies ฟลายส แมลงวัน
story = stories สตอรีส เรื่องราว
lady = ladies เลดีส สุำภาพสตรี
4. นามที่ลงท้ายด้วย o ค่อนข้างจะยากสักหน่อย เพราะบางตัวเติม s
บางตัวเติม es บางตัวเติมได้ทั้ง s และ es ซึ่งต้องจดจำตัวที่สำคัญดังนี้
radio = radios เรดิโอส วิทยุ
kilo = kilos คิโลส กิโล
studio = studios สตูดิโอส สตูดิโอ
bamboo = bamboos แบมบูส ไม้ไผ่
solo = solos โซโลส การแสดงเดี่ยว
piano = pianos พิแอโนส เปียโน
zero = zeros เซียโรส ศูนย์
photo = photos โฟโทส ภาพ
kangaroo = kangaroos แค็งกะรูส จิงโจ้
zoo = zoos สูส สวนสัตว์
นามที่เติม es ที่สำคัญมีดังนี้
hero = heroes เฮียโรส วีรบุรุษ
potato = potatoes พะเทโทส มะเขือเทศ
tomato = tomatoes ทะเมโทส มันฝรั่ง
นามที่ได้ทั้ง s และ es ที่สำคัญมีดังนี้
mosquito = mosquitos, mosquitoes มอสควิโทส ยุง
buffalo = buffalos, buffaloes บัฟฟะโลส ควาย
mango = mangos, mangoes แมงโกส มะม่วง
volcano = volcanos, volcanoes วอลเคโนส ภูเขาไฟ
ตัวอย่างประโยคการใช้คำนามเอกพจน์ และพหูพจน์
A red radio is quite expensive.อะ เรด เร๊ดิโอ วิส คไวท ทิกซเป็๊นซิฝ (วิทยุสีแดงราคาค่อนข้างแพง)
Two black radios on the table are from Japan.
ทู แบล็ค เรดิโอส สอน เดอะ เท๊เบิล ลา ฟรอม จะแพ๊น ( วิทยุสีดำสองเครื่องบนโต๊ะ มาจากญี่ปุ่น)
My house is very small but their houses are big.
มาย เฮาส สิส เฝ๊ริ สมอล บัท แด เฮ๊าเซ็ส สา บิก ( บ้านของฉันเล็กมาก แต่บ้านของพวกเขาใหญ่)
All babies in this country are sweet.
ออล เบ๊บิส สิน ดิส คั๊นทริ ยา สวีท (เด็กทุกคนในประเทศนี้น่ารัก)
ความหมายของคำศัพท์
คำศัพท์
คำศัพท์ส่วนมากในภาษาอังกฤษจะมีรากศัพท์จากภาษาเจอร์เมนิกและภาษาละติน โดยคำจากเจอร์เมนิกจะเป็นศัพท์ที่สั้นและเป็นศัพท์ในชีวิตประจำวัน และคำศัพท์อังกฤษที่รากศัพท์มาจากละติน จะถือว่าเป็นคำศัพท์ของคนชั้นสูงและมีการศึกษาในสมัยก่อน ในปัจจุบันผู้ใช้ภาษาอังกฤษสามารถเลือกใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันเช่น "come" (เจอร์เมนิก) "arrive" (ละติน); freedom (เจอร์เมนิก) "liberty" (ละติน); oversee (เยอร์มานิก) "supervise" (ละติน) "survey" (ฝรั่งเศสที่มาจากละติน)
นอกจากนี้ในชื่อสัตว์และเนื้อสัตว์จะใช้ศัพท์แยกจากกัน โดยตัวสัตว์จะใช้ศัพท์จากเจอร์เมนิกเป็นคำศัพท์จากชนชั้นล่างในอังกฤษ ขณะที่เนื้อสัตว์ที่เป็นอาหารใช้ศัพท์จากภาษาฝรั่งเศสที่มีรากศัพท์ละตินซึ่งเกิดจากคำศัพท์ผู้บริโภคชั้นสูง เช่น "cow" และ "beef"; "pig" และ "pork"
ในปัจจุบันได้มีคำศัพท์ใหม่จากภาษาอื่นเข้ามาใช้ในภาษาอังกฤษ หลายภาษารวมถึงฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ญี่ปุ่น และภาษาต่างๆ ตัวอย่างคำเช่น creme brulee, cafe, fiance, amigo, karaoke
GRAMMAR หลักภาษา
เรียนหลักการของภาษาอังกฤษ, tense และ ฯลฯ เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น เนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่หลักการจนถึงระดับที่ผู้เรียนสามารถตรวจ grammar ได้ระดับหนึ่ง สามารถเช็คได้ว่าเขียนผิดหรือเขียนถูก อย่างนี้ make sense หรือไม่ เอ๊ะ อันนี้ประธานพหูพจน์ ทําไมไม่เปลี่ยนเป็น are ฯลฯ..... หลักภาษานี้ ครอบคลุมเพียงพอต่อการนําไปใช้ ไม่จําเป็นที่จะต้องพูดทุกๆ เรื่องของภาษาอังกฤษ ทําไมน่ะหรือ เพราะหลักของภาษานั้นมีอยู่ แต่ไม่ใช่ว่าท่านจะต้องรู้วิธีการใช้คําศัพท์ทุกๆ คําทั้งโลกหรือทั้งหมดของดิกให้หมดก่อนที่จะนําไปใช้งาน นั่นล่ะ เราจะเรียนรู้ว่าหลักของมันมีอะไร structure ของมันเป็นอย่างไร อะไรควรจะอยู่ตรงไหน, gerund มีขอบเขตต่างจาก infinitive อย่างไร ฯลฯ และจากตรงนี้ ท่านจะสามารถตอบโจทย์ได้ว่า ประโยคนี้มัน make sense หรือไม่อย่างไร นี่คือหลักภาษาที่เราจะมาเรียนกัน

เทคนิคจำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลางที่มีความจำเป็น เนื่องจากมีบทบาทต่อผู้คนในหลากหลายอาชีพ รวมไปถึงน้อง ๆ นักศึกษาที่หลายหลักสูตรต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐาน ส่วนใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับการจำคำศัพท์ 'เกร็ดน่ารู้ Edutainment Zone' มีเทคนิคช่วยจำมาฝาก
จัดศัพท์เป็นหมวดหมู่ เช่น คำที่มีความสัมพันธ์กัน หรือมีความหมายตรงข้ามกัน จะช่วยให้จำศัพท์ได้ง่ายขึ้น อาจจดบันทึกใส่สมุดที่พกพาได้ เพื่อความสะดวกเมื่อต้องหยิบมาท่องในเวลาว่าง

นำศัพท์มาใช้บ่อย ๆ ทำให้เกิดความเคยชิน จะจำได้แม่นยำขึ้น จากนั้นลองแต่งประโยคจากคำเหล่านั้น เพื่อฝึกการเรียบเรียงประโยค
จำศัพท์จากการออกเสียง อาทิ คำที่ออกเสียงคล้าย ๆ กัน นอกจากจะช่วยให้นึกถึงความหมายได้ง่ายแล้ว ยังได้รู้หลักการออกเสียงที่ถูกต้อง
ท่องศัพท์ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 10 คำ และหมั่นทบทวนบ่อย ๆ ให้คุ้นเคย หากมีโอกาสสนทนากับคนพูดภาษาอังกฤษ ควรลองนำศัพท์ไปใช้ในสถานการณ์จริง
ฝึกฟัง-อ่านภาษาอังกฤษจากข่าวหรือหนังสือต่าง ๆ แล้วสังเกตหาศัพท์ที่เคยท่อง จะช่วยให้เข้าใจเรื่องราวโดยรวมของเรื่องที่อ่านได้เร็วขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)